วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 6
วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กิจกรรมก่อนเรียน
- แจกกระดาษ A 4 ให้กับนักศึกษาคนละ 1 แผ่น
- แจกถุงมือคนละ 1 ข้าง ให้กับนักศึกษา 
ขั้นตอนการปฏิบัติ
- ให้นักศึกษาใส่ถุงมือ โดยใส่ข้างที่ไม่ถนัด
- วาดรูปมือตนเองข้างที่ใส่ถุงมือ โดยวาดให้เหมือนที่สุด 
วาดโดยใส่ถุงมือ
สรุปได้ว่า...
  • การที่เราใส่ถุงมือแล้ววาดมือของเรา ที่อยู่กับเรามาตั้งแต่เกิด มีลักษณะอย่างไร โดยที่เราไม่สามารถมองเห็นรายละเอียดได้ ซึ่งก็เปรียบเสมือนเด็กปฐมวัยที่ครูนั้นไม่สามารถจดจำรายละเอียดของเด็กได้ทั้งหมดและทุกคน ทั้งๆที่ก็เห็นหน้าทุกคน ใกล้ชิดทุกวัน การสังเกตพฤติกรรมเด็กไม่ใช่จำไว้ก่อนแล้วค่อยมาจด ซึ่งเป็นไปไม่ได้แน่ที่เราจะจำพฤติกรรมของเด็กได้
ขั้นตอนปฏิบัติ
- ถอดถุงมือออก แล้ววาดรูปมือของเรา ให้เหมือนที่สุด 
ภาพที่ใส่ถุงมือ กับ ภาพที่ไม่ใส่ถุงมือ
สรุปได้ว่า...
  • การที่ครูรีบบันทึกพฤติกรรมในสิ่งที่เห็น โดยที่เวลาบันทึกห้ามใส่อารมณ์ส่วนตัวที่มีต่อเด็กเป็นเด็ดขาด ให้บันทึกตามความเป็นจริง

ความรู้ที่ได้รับ
การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครูและทัศนคติ
- เด็กพิเศษเป็นส่วนรวมกับเพื่อนในห้อง
- ปรับทัศนคติของตนเอง
- ครูเมื่อรู้ว่ามีเด็กพิเศษจะต้องไม่กังวลหรือเครียดในการสอน
การฝึกเพิ่มเติม
- การอบรมในระยะสั้น เพื่อเป็นการเสริมความมั่นใจให้กับครูผู้สอน ว่าควรปฏิบัติตนอย่างไรกับเด็กพิเศษ
การเข้าใจภาวะปกติ
- เด็กคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง โดยเฉพาะในเรื่องพัฒนาการ
- ครูต้องเรียนรู้,มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ เช่น การพูดคุย การทักทาย เข้าไปเล่นกับเด็กเมื่อเด็กต้องการความช่วยเหลือ
- รู้จักเด็กแต่ละคน เป็นสิ่งที่สำคัญ ถ้าเรารู้จักชื่อจริงและชื่อเล่นของเด็ก เด็กจะเชื่อใจ ให้ความไว้ใจ ครูต้องใส่ใจเด็กทุกๆคน
- มองเด็กให้เป็น "เด็ก"
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
- การเข้าใจพัฒนาการเด็กจะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
- ครูต้องคอยสังเกตอาการเด็ก พฤติกรรมของเด็ก
- เมื่อรู้อาการของเด็ก ไม่ควรนำไปเล่ากับใคร เล่าได้เฉพาะด้านที่ดีของเด็ก เพื่อให้เขาได้จดจำภาพลักษณ์ที่ดี
ความพร้อมของเด็ก
- วุฒิภาวะ
- แรงจูงใจ
- โอกาส
การสอนโดยบังเอิญ
- ช่วงเวลาที่เด็กเข้าหาหรือช่วงเวลาที่เด็กมีปัญหา
- เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
- ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
- ครูต้องมีความสนใจเเด็ก
- ครูต้องใช้เวลาคนเด็ก 1 คนไม่นาน เพราะเด็กที่เหลือจะไม่สนใจ
อุปกรณ์
- มีลักษณะง่ายๆ
- สื่อที่ดี ต้องมีวิธีการเล่นที่ไม่ตายตัว ได้แก่ ตัวต่อ บล็อค แป้งโดว์ โลโก้ เป็นต้น เล่นง่ายๆ ใช้จริงได้เยอะ นำไปบูรณาการกับวิชาอื่นๆได้
- อย่าแบ่งแยกเพศ เช่น เด็กผู้ชายเป็น จรวด หุ่นยนต์ ดาบ และของเด็กผู้หญิง เป็น ตุ๊กตา เป็นต้น
- เด็กปกติจะเล่นได้ดี เด็กพิเศษจะเรียนรู้พฤติกรรมของเด็กปกติ และจะพยายามเลียนแบบ
ตารางประจำวัน
- กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้ คือ ห้องเรียนที่เด็กคาดคะเนได้เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
- กิจวัตรประจำวันเหมือนกันทุกวัน
ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น
- ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
- อย่าไปยึดติดกับแผนการสอนเพราะแผนเป็นแค่แนวทางที่เราสอนเด็ก
การใช้สหวิทยาการ
- ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ เช่น แพทย์ หมอ และนักบำบัดเป็นต้น
- สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในโรงเรียน เช่น การร้องเพลง การเล่นดนตรี เป็นสิ่งที่บำบัดเด็กได้ดี
การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
เด็กทุกคนสอนได้
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส

**เด็กทุกคนมีความสามารถอยู่ในตัว ครูสำคัญมากในการสร้างโอกาสให้กับเด็ก**
เทคนิคการให้แรงเสริม
แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
- ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
- หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤกรรมนั้นๆจะหายไป
วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
- ตอบสนองด้วยเวลา
- การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
- สัมผัสทางกาย
- การที่เด็กมองหน้าครู แล้วครูหลบตาเด็กจะกังวล คิดว่าครูไม่ชอบ
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
- ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์ เช่น การชม การลูกหัว การกอด เป็นต้น
- ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท ( Prompting )
- ย่อยงาน
- ลำดับความสำคัญยากง่ายของงาน
- เป็นการเสริมแรงให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
- การการบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
- สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
- สอนจากง่ายไปยาก
- ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
- ทีละขั้น ไม่เร่งรีบ " ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น "
- ไม่ดุหรือตีเด็ก

การกำหนดเวลา
- จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
- สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง
ตัวอย่าง "เด็กตักซุป"
- การจับช้อน
- การตัก
- การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อนจะเข้าปาก
- การเอาช้อนและชุปเข้าปากแทนที่จะทำให้หกรดคาง
- การเอาซุปออกจากช้อนเข้าสู่ปาก

การลดหรือหยุดแรงเสริม
- ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
- เอาเด็กออกจากของเล่น
- ให้เด็กคิดว่าทำอะไรผิด
ความคงเส้นคงวา
- ครูต้องปฏิบัติอย่างเดิมกับเด็ก

การประเมินการเรียนการสอน

  • ตนเอง 100 % : เข้าเรียนตรงเวลา วันนี้เนื้อหาเยอะมาก อาจารย์ยกตัวอย่างให้เข้าใจได้ง่ายๆมากยิ่งขึ้น มีกิจกรรมให้ทำ เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจในกระบวนการเป็นครู การบันทึกพฤติกรรมของเด็ก
  • เพื่อน 100 % : ตั้งใจเรียน มีคุยบ้างโดยเฉพาะกลุ่มดิฉัน เพื่อนส่วนใหญ่ตั้งใจทำงานที่อาจารย์ได้มอบหมาย
  • อาจารย์ 100% : อาจารย์มาสอนตรงเวลา ทบทวนเพลงกันท้ายชั่วโมงที่เคยร้องกันไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น