ครั้งที่ 17
วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ.2558
(ชดเชยวันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ.2558)
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
Individualized Education Program (IEP)
กิจกรรมในวันนี้
อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 5 คน โดยให้ช่วยกันเขียนแผน IEP ส่งภายในชั่งโมง
ระดมสมองกันภายในกลุ่ม
ไม่เข้าใจตรงไหนปรึกษาอาจารย์เบียร์ได้
บรรยากาศภายในห้องเรียน
แผน IEP
- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
- เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
- ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP
- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
- เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
- แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
แผน IEP
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมรายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
- ตรวจสอบและประเมินผลได้เป็นระยะ
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเชียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อสารการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความก้าวหน้าของเด็ก
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ความแตกต่างระหว่างจุดมุ่งระยะยาว / จุดมุ่งหมายระยะสั้น
จุดมุ่งระยะยาว จุดมุ่งหมายระยะสั้น
1. กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง 2. ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
(ว่าจะสอนอะไรใน 1 ปี) 3. เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ใน
- น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้ ระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
- น้องเดย์ร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น - จะสอนใคร
- น้องนุชเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้ - พฤติกรรมอะไร
- เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
- พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
...สอบร้องเพลง...
การร้องเพลงที่เพื่อนๆมีความมั่นใจในเสียงตนเองเป็นอย่างสูง โดยไม่ห่วงผู้ชมกันเลยทีเดียว
มารับชม Step การร้องเพลงของกลุ่มดิฉันกันเลยค่ะ
*****************************************************************
คนแรกของกลุ่มเราซุ่มร้องข้ามวันข้ามคืน รัชดาภรณ์ (บุ๋มบิ๋ม)
ความตื่นเต้นมาเต็มแต่ผ่านไปได้ด้วยดีนะค่ะ
คนที่สองมาแบบนิ่งๆ สงบ สยบความเคลื่อนไหวมาก สิรินดา (น้ำฝน)
- เธอมาด้วยบทเพลง บ้านของฉัน
ฮ่าๆ ตื่นเต้นมาก เช็ดเหงื่อแปบ !!!
คนที่สามจัดว่าเด็ด เปลี่ยนเนื้อให้พร้อม จิตรติกา (ใหม่)
- มาด้วยบทเพลง แปรงฟัน
มาเต็มค่ะ เปลี่ยนเนื้อร้องให้เสร็จสรรพ...
คนที่สี่ชายรูปงาม มีนามว่า อรุณ (ฟิต)
- มาด้วยบทเพลง ดอกไม้
ออกมาทีสาวๆในห้องกริ๊ด ในเสียงอันไพเราะ
คนห้าเธอมาพร้อมกับกับความมั่นใจมาก ศิริพร (ปูลม)
- เธอมาด้วยบทเพลง ดวงจันทร์
ตื่นเต้นสุดๆ ซ้อมร้องเพลงนกเขา เสียใจค่ะ TT
คนที่หกเรานั้นความพยายามมาเต็ม กาญจนา (ปูเป้)
- มาด้วยบทเพลง แม่ไก่
จำเนื้อเพลงไม่ได้เพราะวันนั้นไม่ได้มาเรียน ฮ่าๆ
คนสุดท้ายแล้วเสียงไม่เน้น เน้นหน้าตานะค่ะ ธนภรณ์ (ออย)
- มาด้วยบทเพลง อาบน้ำ...ซู่ซ่า
เขินจนหันหลัง แต่หันกลับมาเพราะอรุณ 555
บทเพลงนกเขามอบให้อาจารย์เบียร์
โฆษณา ATM จากกลุ่มเรา
แจกรางวัลเด็กดี
ต้องขอขอบคุณอาจารย์เบียร์มากนะค่ะ เรียนมาไม่คิดว่าจะได้แบบเพื่อนๆบ้าง ก็แอบคิดเหมือนกันว่าจะได้ไหมสักครั้งไหม แต่ก็ได้มาในที่สุด |
คนที่ดีมีจิตอาสาได้แก่ กาญจนา กัยบ ธนารัตน์ |
ถ่ายรูปรวมกลุ่มกับอาจารย์
....การนำไปประยุกต์ใช้...
สอบร้องเพลงเด็กปฐมวัย
- เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กแสดงออกเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับจังหวะดนตรี ควรเป็นเพลงสั้นๆ ใช้ภาษาเข้าใจง่าย จังหวะไม่ช้าหรือเร็วเกินไป เนื้อหาเหมาะกับเด็กปฐมวัย การสอนส่วนมากจะเกี่ยวกับการร้องเพลงเพลงที่สอนเด็กปฐมวัยมีเนื้อร้องที่ ช่วยพัฒนาและให้ความรู้แก่เด็กทั้ง 4 ด้าน
- ด้านร่างกาย เด็กมีโอกาสทำท่าทางประกอบและเคลื่อนไหวไปตามเนื้อเพลง เช่น เพลงแปรงฟัน เพลงอาบน้ำ เพลงดื่มนม ฯลฯ
- ด้านอารามณ์ ขณะที่เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบเพลง เด็กจะมีจิตใจร่าเริงแจ่มใส มีความสนุกสนาน คลายความตึงเครียด อีกทั้งยังช่วยให้เด็กมีความกล้าแสดงออกและมั่นใจในตนเอง
- ด้านสังคม เพลงเป็นสื่อ ช่วยให้เด็กสนิทสนม กับครูและเพื่อน
- ด้านสติปัญญา เนื้อหาในเพลงที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ช่วยให้เด็กพัฒนาความ สามารถในด้านต่างๆ เช่น
- ด้านภาษา เมื่อเด็กทำท่าทางประกอบเพลง การที่จะสังเกตว่าเด็กเข้าใจเนื้อหาหรือความหมายของเนื้อเพลง ดูได้จากท่า ทางที่เด็กทำ
- ด้านคณิตศาสตร์ เพลงช่วยให้เด็กได้จดจำและเข้าใจเกี่ยวกับจำนวนและความหมายของคำบางคำทางคณิตศาสตร์ เช่น เพลงนกกระจิบ เพลงลูกแมว ฯลฯ
- ด้านวิทยาศาสตร์และธรรมชาติศึกษา มีเพลงหลายเพลงที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติรอบๆตัวเด็ก เช่น เกี่ยวกับสัตว์ พืช ปรากฏการณ์ธรรมชาติ อาทิ เพลง ทะเลแสนงาม เพลงธรรมชาติ เพลงนกน้อยฯลฯ เด็กจะสามารถเข้าใจธรรมชาติรอบตัวจากเพลงเหล่านี้และสามารถจดจำได้แม่นยำ
...การประเมินการเรียนการสอน...
เพื่อน : เป็นชั่วโมงแรกเลยค่ะที่ได้เรียนด้วยกัน 30 คน ซึ่งมีความแตกต่างกันมากในแต่ละกลุ่ม กลุ่มหนูเลยเด็กหลังห้อง คุยเสียงดัง มีกิจกรรมบอก จิตอาสาเป็นเลิศ ซึ่งเพื่อนกลุ่มอื่นๆจะไม่ค่อยคุยตั้งใจเรียนมาก เคยสงสัยเหมือนกันนะค่ะคาบแรกที่เรียนในห้องเลยห้องเงียบมาก มีแต่กลุ่มพวกหนูคุย แบ่งเป็นกลุ่มเลยชัดเจน แต่เมื่อเวลาผ่านสิ่งที่แตกของเป็นเสี่ยงกับได้สิ่งที่หลอมละลายให้กลายมาเป็นหนึ่งเดียวรวมตัวกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สามารถเล่นมุก แซวได้ เพื่อนแซวกลับ มีรอยยิ้มให้กันและกัน
อาจารย์ : ขอบคุณนะค่ะไม่ว่าจะ ความรู้ที่ได้ถ่ายทอดให้กับนักศึกษา ที่สำคัญเลยความรักที่มีต่อนักศึกษาทุกคน เด็กพิเศษก็ต้องการทั้งความรัก ความเข้าใจ ทั้งผู้ปกครอง คุณครูประจำชั้นและเพื่อนๆ โดยให้เข้าใจอาการของเด็ก การให้ความรักกับเด็กพิเศษ ซึ่งเด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้