วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 4
วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ.2558
กิจกรรมก่อนเรียน
- ให้นักศึกษาวาดรูปดอกบัว พร้อมตกแต่งระบายสีในเวลา 40 นาที
- พร้อมบอกว่านักศึกษาเห็นอะไรในภาพนี้ตามความคิดของตนเอง

ความรู้ที่ได้รับ
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียน
  • ครูไม่ควรวินิจฉัยเด็กเด็กขาด และห้ามนำไปพูดกับผู้ปกครอง
  • ห้ามนำจุดด้อยของเด็กไปเล่าให้ผู้ปกครองฟัง
  • สามารถเล่ากับครูได้
  • ครูไม่ใช่หมอ
  • ครูไม่ควรตั้งชื่อให้เด็ก เพราะเด็กจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี นั้นก็คือ จิตใจของเด็ก ว่าทำไมครูและเพื่อนๆไม่เรียกชื่อเขา
  • ต้องคอยช่วยเหลือเด็ก ปรับเปลี่ยนทัศนคติของตนเอง
  • ครูต้องคิดเสมอว่า " เด็กทุกคนทำได้ "
  • พ่อแม่ทราบอาการของลูกตนเองอยู่แล้ว ครูไม่ควรตอกย้ำในจุดด้อย แต่ครูควรพูดส่งเสริมในจุดเด่นๆของน้อง คือ สิ่งที่น้องทำได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
  • การให้ข้อเสนอแนะของเด็กกับผู้ปกครอง ครูควรมีวิธีการพูดอ้อมๆหรือโน้วน้าวผู้แกครอง
  • การสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบ คือ การจดบันทึกเด็ก จดเฉพาะข้อสงสัยของเด็กคนนั้น ตามเซ็คว่าน้องเป็นเด็กพิเศษหรือเปล่า เพราะครูคือคนที่ใกล้ชิดกับเด็กเห็นพฤติกรรมเด็กที่แสดงออกมา
  • แพทย์ นักจิตวิทยา นักคลีนิก สนใจอยู่ที่ปัญหาของเด็ก โดยไม่สนใจในจุดเด่นของเด็ก
  • แบบสังเกตของครูและการตรวจสอบเพื่อคัดแยกเด็กที่อาจต้องการบริการพิเศษ
  • ข้อควรระวังในการปฎิบัติ
1. ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้ เช่น น้องดาวน์วาดรูปแล้วชอบร้องเพลงไปด้วย ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้ไม่ใช่สิ่งที่ผิด พฤติกรรมไม่ได้ไปขัดข้องกับการเรียนรู้เด็ก 
2. การทำแบบสังเกตไม่ใช่ดูพฤติกรรมเด็กแล้ว ทำแบบสังเกตเลย แต่ควรดูมานานแล้ว
  • การบันทึกการสังเกต
1. การนับอย่างง่ายๆ
   - เด็กแสดงพฤติกรรมไม่ดีกี่ครั้ง เช่น ปาสิ่งของ,กระทืบเท้า

2. การบันทึกต่อเนื่อง (นับเป็นชั่วโมง)
   - การจดแบบให้รายละเอียด

3. การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
   - เป็นการบันทึกที่ดีที่สุด
   - ครูมองเห็นภาพรวมมากที่สุด
   - ครูไม่ควรใส่อารมณ์ส่วนตัวลงไปขณะจดบันทึกพฤติกรรมของเด็ก
   - บันทึกลงบัตรเล็กๆ เพื่อเป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็ก
   - การต้ดสินใจด้วยความระมัดระวังว่าถูกต้องแล้ว 


บรรยายรูปดอกบัว โดยที่ไม่ใส่ความรู้ส่วนตัวลงไป !!
  • ดอกบัวมีสีม่วง มีกลีบทั้งหมด 14 กลีบ มีก้านสีเขียว เกสรสีเหลือง เป็นต้น
มาร้องเพลงกันเถอะ



ผู้แต่ง อาจารย์ศรีนวล   รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน

เพลง ฝึกกายบริหาร

ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว

เพลง ผลไม้

ส้มโอ แตงโม แตงไทย
ลิ้นจี่ ลำไย องุ่น พุทรา
เงาะ ฝรั่ง มังคุด
กล้วย ละมุด น้อยหน่า
ขนุน มะม่วง นานาพันธุ์

เพลง กินผักกัน

กินผักกันเถอะเรา
บวบ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว แตงกวา
คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง โหระพา
มะเขือเทศสีดา ฟักทอง กะหล่ำปลี

เพลง ดอกไม้

ดอกไม้ต่างพันธุ์ สวยงามสดสี
เหลือง แดง ม่วงมี แสด ขาว ชมพู

เพลง จำ้จี้ดอกไม้

จ้ำจี้ดอกไม้ ดาวเรือง หงอนไก่
จำปี จำปา มะลิ พิกุล
กุหลาบ ชบา บานชื่น กระดังงา
เข็ม แก้ว ลัดดา เฟื่องฟ้า ราตรี

การประเมินการเรียนการสอน
  • ตนเอง 99 % : เข้าเรียนสาย ตั้งใจฟังอาจารย์สอน พร้อมจดรายละเอียดที่นอกเหนือจากเอกสาร ทำกิจกรรมท้ายคาบได้ดี เพราะจำได้ การบันทึกแต่ละอัน มีความสำคัญที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งครูเวลาทำการบันทึกพฤติกรรมเด็กไม่ควรใส่อารมณ์ส่วนตัวลงไปด้วย
  • เพื่อน 99 % : มีเข้าเรียนสายบ้าง แต่น้อย ทุกคนร่วมกันตอบคำถาม บรรยากาศภายในห้องคึกครื้น ในการทำกิจกรรมวาดรูปดอกบัวเพื่อนๆทุกคนรู้สึกตื่นเต้นมาก บ้างคนก็วาดไม่ได้แต่ก็พยายามวาดให้ได้
  • อาจารย์ 100 % : มีความเตรียมพร้อมมาดี ยกตัวอย่างกรณีของเด็กต่างๆให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น นักศึกษาเรียนรู้ได้เร็ว เป็นที่ปรึกษาให้กับนักศึกษาได้ทุกเรื่อง คอยชี้แนะในสิ่งที่ถูกที่ควร

วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 3
วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ.2558


กิจกรรมในห้องเรียน
อาจารย์ให้นักศึกษาหัดปรบมือและทำสีหน้าให้สนุกสนาน พร้อมทั้งร้องเพลงเด็กปฐมวัย 5 เพลง
ความรู้ที่ได้รับ

  • การศึกษาปกติทั่วไป ( Regular Education ) คือ ทุกคนได้รับการศึกษา
  • การศึิกษาพิเศษ ( Special Education ) คือ การจัดการศึกษาให้สำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งเด็กกลุ่มพิเศษเหล่านี้จะไม่สามารถได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการจัดการศึกษาแบบเดียวกันกับเด็กปกติ
  • การศึกษาแบบเรียนร่วม ( Integrated Education หรือ Mainsstreaming ) คือ อยู่ในการควบคุมของศูนย์การศึกษาพิเศษหรืออาจในศูนย์เฉพาะทางที่ให้ความดูแลเด็กพิเศษ ซึ่งศูนย์จะทำการหน้าที่ประสานงานติดต่อกับทางโรงเรียนนั้นเพื่อรับน้องเข้ารับการศึกษา **วิชาที่ได้รับความสนใจมากที่สุด คือ วิชาดนตรี พลศึกษา และศิลปะ แต่วิชาดนตรีนั้นเป็นที่นิยมมากสำหรับเด็ฏพิเศษ ส่วนกิจกรรมจะปรับเปลี่ยนให้นักห้องเรียนได้
  • การศึกษาแบบเรียนรวม ( Inclusive Education ) คือ ไม่ได้สังกัดอยู่ในหน่วยงานใด เป็นการรับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เข้ารับการศึกษา
งานวิจัย : เด็กที่เรียนในศูนย์และเด็กเรียนรวม
ผลวิจัยออกมาใกล้เคียงกันมากไม่ว่าจะเรียนในศูนย์หรือแบบเรียนรวม 
สิ่งที่แตกต่าง : สังคม , ภาษา และการใช้ชีวิต ซึ่งเด็กที่เรียนรวมได้รับการยอมรับ มีความทัดเทียมกัน ดำเนินชีวิตได้ดี เปิดโลกที่กว้าง เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน

Wilson , 2007

  • การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน ( Inclusion ) เป็นหลัก
  • การสอนที่ดี คือ การสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกัน
  • กิจกรรมทุกชนิดที่นำไปสู่การสอนที่ดี ( Good Teaching ) ให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวมในสากลทั่วโลก

"Inclusive Education is Education for all,
It involves receiving people
at the beginning of their education,
with provision of additional services
needed by each individual"

************************************************

การศึกษาแบบเรียนรวม เป็นการศึกษาสำหรับทุกคน
จะเกี่ยวข้องกับการรับบุคคล
เริ่มตั้งแต่ช่วงแรกของการศึกษาในชีวิต
แต่ละบุคคลก็ต้องได้รับการช่วยเหลือ
ที่ได้รับความต้องการของแต่ละบุคคล

************************************************
ประเมินการเรียนการสอน

  • ตนเอง 99 % : เข้าเรียนทันเวลา ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์สอนพร้อมจดรายละเอียดเล็กๆน้อย ไม่ค่อยจะได้คุยกันในวันนี้ ซึ่งการศึกษาแบบเรียนร่วมและการศึกแบบเรียนรวม อาจารย์อธิบายได้เข้าใจอย่างชัดเจน ซึ่งในตอนแรกที่อ่านเอกสารก็งงๆ ว่าแตกต่างกันอย่างไร แต่พาอาจารย์มาอธิบายเพิ่ม และให้สรุปความรู้ของตนเองท้ายคาบ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เหมือนกระตุ้นสมองของเรากับสิ่งที่เพิ่งเรียนไป ซึ่งการทำอะไรซ้ำๆจะเกิดเป็นนิสัยที่ดีติดตัวไป เหมือนดิฉันตอนนี้ซึ่งเมื่อก่อนบล็อกจะอัพทีละ 5 ทีเดียว แต่เทอมนี้ วิชานี้ขอเปลี่ยนใหม่ค่ะ จะรีบอัพทุกครั้งหลังเรียนเลย
  • เพื่อน 100 % : เข้าเรียนตรงเวลาไม่มีใครมาสาย ทุกคนให้ความสนใจ ในการตอบคำถาม ร่วมกันแสดงความคิดเห็นสิ่งที่คิดต่าง และที่สำคัญห้องเงียบมาก ไม่ค่อยคึกครื้นเลย
  • อาจารย์ 100 % : เตรียมเนื้อหาการสอนมาดีมาก แต่ห้องไม่เอื้ออำนวยเท่าไหร่ อาจารย์สอนให้นักศึกษาเข้าใจอะไรได้ง่ายขึ้น จดจำนักศึกษาได้ทุกคน ใส่ใจมากทุกรายละเอียด คอยเป็นที่ปรึกษาชี้นำทางให้กับลูกศิษย์ที่ดีมากเสมอ

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ.2558



เล่าสู่กันฟัง
  • อาจารย์เล่าประสบการณ์ที่พารุ่นพี่ปี 4 ไปจังหวัดบุรีรัมย์ โดยไปจัดกิจกรรมที่
  1. โรงเรียนบ้านหนองพระอง : เพิ่มเติม
  2. โรงเรียนวัดบ้านหนองกระทิง : เพิ่มเติม
  3. โรงเรียนบ้านหนองพะอง : เพิ่มเติม
  • อำเภอลำปรายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ไปจัดกิจกรรม ทำนุบำรุงโรงเรียน โดยการทาสีโรงเรียนและจัดกิจกรรม โดยรุ่นพี่นอนที่ศาลาวัด และขากลับก็ได้แวะไร่นาป่าสงวน ของพี่ปอ ทฤษฎี สหวงษ์ : เพิ่มเติม
เฉลยข้อสอบวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
  • ตอนที่ 1
1. การส่งเสริมพัฒนาการเด็กดาวน์ซินโดรม : ถูก เพราะต้องให้เด็กใช้ชีวิตใกล้เคียงกับเด็กปกติ
2. IEP ใช้สอนเด็กทั้งห้องเป็นแผนระยะสั้น : ผิด เพราะ Individualized Education Program (IEP) เป็นแผนการศึกษาส่วนบุคคล ใช้ในระยะยาวเป็นเทอมหรือปี
3. เด็กดาวน์ซินโดรม เรียนรู้ได้อย่างสม่ำเสมอ มีพัฒนาการที่ใกล้เคียงกับเด็กปกติ : ถูก
4. การปรับพฤติกรรมเด็กต้องพัฒนาการด้านเดียว : ผิด ควรส่งเสริมด้านที่ไม่ถนัดควบคู่ไปด้วย
5. ควรส่งเสริมให้เด็กออทิสติกเล่นของเล่นเพียงชิ้นเดียว : ผิด ควรเปลี่ยนของเล่นให้หลากหลาย
6. การฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กออทิสติกควรส่งเสริมในด้านวิชาการ : ผิด ต้องส่งเสริมในเรื่องของสังคมและการใช้ชีวิต
7. ห้องเรียนเส้นขนานเป็นห้องเรียนสำหรับเด็กออทิสติก : ผิด ห้องเรียนคู่ขนาน
8. โปรแกรมการแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร ใช้ในระยะยาว : ผิด Picture Exchange Communication (PECS) ให้เด็กใช้ในระยะสั้น เพื่อใช้ในการสื่อความหมายโดยใช้ภาพ : เพิ่มเติม
9. ชื่อยา Listerine 10 เป็นยาของเด็กสมาธิสั้น : ผิด ชื่อยา Ritalin 10
10. เด็กสมาธิสั้นสามารถเรียนในโรงเรียนปกติทั่วไปได้ : ถูก
  • ตอนที่ 2
1. หน่วยงานที่ช่วยเหลือเด็กพิเศษ : ศูนย์การศึกษาพิเศษ Early Intervention (EI)
2. VDO ห้องเรียนแรก จงยกตัวอย่างสื่อมา 4 อย่าง
3. เขียนมา 2 กิจกรรมที่เห็นใน VDO ห้องเรียนแรก
4. น้องสินธัช อายุ 6 ปี อยู่อนุบาล 2 ชอบวาดรูประบายสี ชอบบวก ลบเลข เก่งวิชาคณิตศาสตร์ พูดด้วยแล้วน้องจะไม่สนใจ ไม่พูดคุยกับเด็กคนอื่น เมื่อครูและเพื่อนเข้าไปพูดด้วย จะทำเป็นไม่ได้ยิน มองไม่เห็น ไม่ฟังครู ชอบลุกปีนป่าย เมื่อครูให้ทำงานจะทำได้จะสนใจได้สักพัก และลุกขึ้นไปแกล้งเพื่อน ไม่สามารถอยู่ในกฎกตกาได้ **น้องสินธัชเป็นเด็กพิเศษประเภทอะไร : เด็กออทิสติกร่วมกับเด็กสมาธิสั้น
5. ถ้าเป็นครูประจำชั้นน้องสินธัช จะมีวิธีการส่งเสริมอย่างไร : ต้องปรับพฤติกรรม คือ นั่งกับเพื่อนที่นิ่งที่สุด ครูใช้แผน IEP เปลี่ยนกิจกรรมบ่อยๆ สั้น ใช้เวลาไม่นาน การปรับสภาพแวดล้อม คือ ห้องเรียนต้องเงียบ นั่งใกล้ครู ของเล่นเก็บให้เป็นระเบียบ

กิจกรรมระหว่างเรียน
  • อาจารย์ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบวัดความรู้เดิม ก่อนที่จะเริ่มเรียนในวิชานี้ โดยมี ดังนี้
1. ประเภทของเด็กที่มีความบกพร่อง มีอะไรบ้าง
1.1. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
1.2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
1.3. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
1.4. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
1.5. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ
1.6. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
1.7. เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์
1.8. เด็กออทิสติก
1.9. เด็กพิการซับซ้อน
1.10. เด็กปัญญาเลิศ
2. จงยกตัวอย่างเด็กพิเศษมา 1 อาการ พร้อมทั้งบอกสาเหตุ อาการที่เกิดและวิธีการดูแล
3. ชื่อวิชาที่กำลังเรียนอยู่ มีชื่อวิชาว่าอะไร
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย EAED3214
4. ชื่อวิชาภาษาอังกฤษ
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
5. ห้องเรียนการศึกษาแบบเรียนรวมหมายความว่าอย่างไร



มาร่วมร้องเพลงกันเถอะ
  • อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนฝึกร้องเพลงของเด็กปฐมวัย เพราะเสียงเพลงนั้นเป็นการที่จะช่วยกระตุ้นความสนใจของเด็ก เสียงเพลงเป็นการคุมให้อยู่ได้ การร้องเพลงต้องใช้น้ำหนักเสียงที่มี หนัก - เบา , สูง - ต่ำ เป็นการเล่นลีลาของเสียงเพื่อกระตุ้นอารมณ์ในการถ่ายทอดเพลง เป็นต้น
1. เพลง นม

นมเป็นอาหารดี   มีคุณค่าต่อร่างกาย
ดื่มแล้วชื่นใจ   ร่างกายแข็งแรง
ยังมีนมถั่งเหลือง   ดื่มได้ดีและไม่แพง
ดื่มแล้วชื่นใจ   ร่างกายแข็งแรง



2. เพลง อาบน้ำ

อาบน้ำซู่ซ่า   ล้างหน้าล้างตา
ฟอกสบู่ถูตัว   ชำระเหงื่อไคล
ราดน้ำให้ทั่ว   เสร็จแล้วเช็ดตัว
อย่าให้ขุ่นมั่ว   สุขกายสบายใจ



3. เพลง แปรงฟัน

ตื่นเช้าเราแปรงฟัน
กินอาหารแล้วเราแปรงฟัน
ก่อนนอนเราแปลงฟัน
ฟันสะอาดขาวเป็นเงางาม
แปรงฟันที่ถูกวิธี   ดูซิต้องแปรงขึ้นลง
แปรงฟันที่ถูกวิธี   ดูซิต้องแปรงขึ้นลง



4. เพลง พี่น้องกัน

บ้านของฉันอยู่ด้วยกันมากหลาย
พ่อ แม่ ปู่ ย่า ลุง ป้า ตา ยาย
มีทั้งน้า อา พี่และน้องมากมาย
ทุกคนสุขสบาย   เราเป็นพี่น้องกัน



5. เพลง มาโรงเรียน

เรามาโรงเรียน   เราเขียนเราอ่าน
ครูเล่านิทานสนุกถูกใจ
เราเรียนเราเล่น   เราเป็นสุขใจ
ร่าเริงแจ่มใสเมื่อมาโรงเรียน


ผู้แต่ง อาจารย์ศรีนวล   รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน

การประเมินการเรียนการสอน
  • ตนเอง 95 % : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย วันนี้นั่งเป็นรูปตัว U ตั้งใจฟังอาจารย์สอน พร้อมจดรายละเอียดทุกสิ่งทุกอย่างที่อาจารย์ได้พูด นั่งข้างสิรินดา ไม่ได้คุยเสียงดัง แต่หนูแค่หัวเราะเสียงดังอาจารย์ก็จะว่า ช่วงเวลาที่ร้องเพลงดิฉันชอบมากเลย เพราะดิฉันร้องเพลงเพี้ยนมากค่ะ ก็พยายามร้องให้เป็นทำนอง มีเสียงหนัก - เบา สิ่งเป็นประโยชน์มากถ้าเราฝึกร้องเพลงบ่อยๆ ก็จะทำให้เวลาไปสอนจริง จะได้ไม่ตื่นเต้น ไม่กังวล กล้าแสดงออก เสียงเพลงสามารถช่วยให้เด็กอยู่ในระเบียบกฎกติกาได้ ซึ้งเนื้อเพลง เป็นเนื้อเพลงที่สั้น กระซับ เนื้อร้องง่าย เด็กปฐมวัยสามารถร้องได้ตามเองได้ ยิ่งถ้าน้องเป็นเด็กพิเศษ แล้วเราร้องเพลงบ่อยๆ เด็กก็สามารถปฎิบัติตามเพื่อนๆได้ โดยต้องมีครู ผู้ปกครองและเพื่อนคอยช่วยเหลือบ้าง
  • เพื่อน 95 % : ส่วนใหญ่ตั้งใจเรียน มีคุยบ้างโดยเฉพาะกลุ่มดิฉัน เพราะเพื่อนเป็นคนที่สนุกสนานร่าเริงตลอด ไม่ค่อยจะอยู่นิ่งๆได้นาน หรือทำอะไรก็ไม่ค่อยเสร็จตามเวลาที่กำหนดได้ ก็จะมีช่วงที่อาจารย์ให้ทำแบบทดสอบความรู้เดิม เพื่อนก็มีถามกันบ้าง เพราะไม่แน่ใจในคำตอบของตนเอง มีหันมองคนข้างๆหรือถามบ้าง แต่เวลามีงานเพื่อนก็ไม่ค่อยส่งเสียงดัง ห้องจะเงียบนานๆครั้งถึงจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้
  • อาจารย์ 98 % : มาสอนตรงเวลา แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี เพราะห้องเรียนในวันนี้ไม่มีจอโปรเจ็ทเตอร์ เลยเปลี่ยนมาทำกิจกรรมแทน ช่วงทำกิจกรรมอาจารย์ก็จะเดินถามเป็นกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น อาจารย์เดินทั่วถึงมาก ใส่ใจนักศึกษาจำชื่อนักศึกษาได้ทุกคนไม่มีพลาดเลย มีเพลงมาให้นักศึกษาร้องสัปดาห์ล่ะ 5 เพลง พร้อมร้องกันทั้งห้อง อาจารย์ก็จะมีลีลาในการร้องเพลง มีน้ำเสียงที่ไพเราะ แต่อาจยังไม่เต็มที่ เพราะอาจารย์ไม่สบาย



วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 1
วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ.2558
ความรู้ที่ได้รับ
  • อาจารย์อธิบายรายละเอียดของคะแนนเก็บ กฎกติการะเบียบในห้องเรียน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
คะแนนเก็บระหว่างภาคเรียน !!!!
  1. บล็อก 30 คะแนน (โดยไม่ต้องสรุป Mind map)
  2. จิตพิสัย 20 คะแนน (การแต่งกาย การเข้าเรียนที่ตรงต่อเวลา)
  3. เขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) 10 คะแนน : เพิ่มเติม
  4. กิจกรรมภายในห้องเรียน 40 คะแนน


การประเมินการเรียนการสอน
  • ตนเอง 96 % : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ไม่ค่อยคุยส่งเสียงรบกวนเพื่อนๆ
  • เพื่อน 95 % : มีคุยบ้างเล็กน้อย เพราะเป็นวันเปิดเทอมวันแรกก็อาจส่งเสียงดัง เพื่อนๆแต่งตัวผิดระเบียบบ้างในเรื่องของเข็มขัดนักศึกษา การทำสีผม และรองเท้า อาจารย์ก็ชี้แจงและบอกกล่าวไว้แล้ว
  • อาจารย์ 98 % : วันนี้อาจารย์ไม่ค่อยสบายเพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย และที่สำคัญอาจารย์มองไม่เห็นหนู เพราะนั่งข้างรัชดาภรณ์และกาญจนา ทำให้อาจารย์ไม่คุ้น และอาจารย์ก็บอกปกติศิริพรจะนั่งข้างธนภรณ์และจิตรติกา ซึ่งจริงๆแล้วไม่เป็นความจริงเลยนะค่ะ หนูนั่งได้กับทุกคนเลยนะค่ะอาจารย์ อาจารย์ใส่ใจกับนักศึกษาทุกคนจริงๆ