วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 12
วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558
เวลาเรียน 12.20 - 15.50 น.

อาจารย์ให้นักศึกษา "สอบวัดความรู้ที่เรียนมา เก็บคะแนน 10 แนน"




วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558


ครั้งที่ 11
วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2558
เวลาเรียน 12.20 - 15.50 น.

กิจกรรมก่อนเรียน
  • ไร่สตรอเบอรี่

  • เราเดินไปเจอไร่สตอเบอรี่สีแดงน่ากิน ในใจตอนนี้อยากกินแต่มีรั้วมากั้น คิดว่ารั้วสูงเท่าไร

  • ตอนนี้เดินข้ามรั้วมาได้จะกินสตรอเบอรี่กี่ลูก
  • ขณะที่เรากินสตรอเบอรี่อยู่นั้น เจ้าของไร่วิ่งมาและตะโกนว่า เราจะพูดกับเจ้าของไร่ว่าอย่างไร
  • ขณะที่กำลังเดินออกจากฟาร์มรู้สึกอย่างไร
  • คำถามที่ถามมานั้น คือ สตรอเบอรี่ หมายถึง ความยับยั่งชั่งใจ
  1. ความสูงของรั้วแสดงถึงความยับยั่งชั่งใจ
  2. เมื่อก้าวข้ามรั้วมา กินสตรอเบอรี่ไปกี่ลูก คือ ระหว่างที่คบกับแฟนมีกิ๊กกี่คน
  3. ถ้าแฟนจับได้จะตอบแฟนว่าอะไร
  4. ในเมื่อนอกใจไปแล้วรู้สึกอย่างไรกับการกระทำผิดในครังนี้

...มาร้องเพลงกันเถอะ...

เนื้อเพลงบำบัดสำหรับร้องวันนี้






ความรู้ที่ได้รับ
  • การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระมากที่สุด คือ เด็กไม่จำเป็นต้องพึงพาใคร การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
  • การสอนแบบตัวต่อตัว
  • ให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเอง
  • เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่
  • ถ้าเด็กผูกเชือกรองเท้าได้เองครั้งแรก เขาก็จะผูกอยู่ซ้ำอย่างนั้น อย่างน้อย 7 - 10 ครั้งใน 1 วัน ครูผู้สอนควรให้กำลังใจเสริม เช่น เก่งมากค่ะ , ผูกได้สวยกว่าครั้งที่แล้ว เป็นต้น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เด็กผูกเชือกรองเท้า

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
  • การได้ทำด้วยตนเอง
  • เชื่อมั่นในตนเอง
  • เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
  • ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง) คือ ครูต้องใจแข็งให้เด็กได้หัด พยายามได้ช่วยเหลือตนเอง
  • ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป คือ เมื่อเด็กต้องการความช่วยเหลืออะไร ให้ทำแค่อย่างนั้นพออย่าทำเกินเลยไป เช่น เด็กใส่ถุงเท้าไม่ได้ ครูก็ควรสอนการใส่ถุงเท้าให้ดู ห้ามทำเกินกว่านี้
  • ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ เช่น การเข้าห้องน้ำ เด็กจะมาขอความช่วยเหลือโดยที่เด็กก็ทำได้ มักจะพูดว่า "หนูทำช้า" "หนูยังทำไม่ได้"
จะช่วยเมื่อไหร่
  • เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร,หงุดหงิด,เบื่อ,ไม่ค่อยสบาย
  • หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
  • เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ ให้ความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
  • มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2 - 3 ปี)


ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3 - 4 ปี)


 ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4 - 5 ปี)


ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5 - 6 ปี)


ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
  • แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
  • เรียงลำดับตามขั้นตอน (อย่าข้ามขั้น)
การเข้าส้วม
  1. เข้าไปในห้องน้ำ
  2. ดึงกางเกงลงมา
  3. ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
  4. ปัสสาวะหรืออุจจาระ
  5. ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
  6. ทิ้งกระดาษชำระลงในตะกร้า
  7. กดชักโครกหรือตักน้ำราด
  8. ดึงกางเกงขึ้น
  9. ล้างมือ
  10. เช็ดมือ
  11. เดินออกจากห้องส้วม
การวางแผนทีละขั้น
  • แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด

สรุป
  • ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
  • ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
  • ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
  • ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
  • เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ

กิจกรรมหลังเรียน
  • แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น
  • นำสีเทียนมาจุดตรงกลางของกระดาษ จะเล็กหรือใหญ่ก็ได้
  • ให้เปลี่ยนสีเทียน ระบายเป็นวงกลม 
  • เมื่อระบายเสร็จก็ตัดออกออก
  • เพื่อนๆตั้งใจทำอย่างสนุกสนาน

  •  เมื่อนำเสร็จแล้วให้นำภาพวงกลมของตนเองมาติดรูปของต้นไม้

  • การร่วมมือของเพื่อนๆ


  • เส้นหนา : เป็นคนที่มั่นใจหนักแน่น
  • ระบายสีดำ : เป็นคนที่สับสน วุ่นวาย
  • เส้นบาง : เป็นคนที่ค่อยมีความมั่นใจ
สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมนี้
  1. เรื่องคณิตศาสตร์  เช่น การนับเลข
  2. มิติสัมพันธ์
  3. ความคิดสร้างสรรค์
  4. การฝึกสมาธิ
  5. แสดงออกทางจินตนาการ
  6. ผลงานที่เด็กทำบ่งบอกสภาวะทางอารมณ์ - จิตใจ
  7. ได้เห็นผลงานที่เพื่อนทำและผลงานของเราเองมาเป็นอย่างไร
  8. ฝึกกล้ามเนื้อมือ
  9. การร่วมมือในการทำผลงานศิลปะ
การนำไปประยุกต์ใช้
  • ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพให้ดีขึ้นเพื่อ ลดปัญหาทางอารมณ์ พฤติกรรม และเสริมสร้างศักยภาพในด้านต่างๆ
  • เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วย กระตุ้นการสื่อสาร และเสริมสร้างทักษะสังคมอีกด้วย
  • ช่วยเสริมสร้างทักษะสังคม ช่วยให้เข้าใจอารมณ์ ความคิดของตนเอง และเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น มีทักษะการสร้างมนุษยสัมพันธ์

การประเมินการเรียนการสอน
  • ตนเอง 98 % : วันนี้ย้ายที่นั่ง แอร์หนาวมาก นั่งเรียนไปขนลุกไป กิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ทำมีประโยชน์กับเด็กมากๆ 
  • เพื่อน 99 % : ตั้งใจเรียน จดบันทึก ที่อาจารย์ได้สอน
  • อาจารย์ 100 % : มีความตั้งใจในการสอนทุกครั้ง ยกตัวอย่างให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่าย

วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 10
วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2558
เวลาเรียน 12.20 - 15.50 น.
กิจกรรมก่อนเรียน
ให้นักศึกษาดูรูปดังต่อไปนี้ ว่ากำลังไปเที่ยวทุ่งหญ้าสะวันนา (แบบทดสอบจิตวิทยาแสดงความเป็นตัวตน)
ขณะที่นั่งรถชมวิวอยู่นั้น อากาศทั้งร้อนและอบอ้าวมาก 

สายตาของท่านก็เหลือบไปเห็นฝูงสิงโตกำลังลุมกินยีราฟอยู่
ท่านจะรู้สึกและเป็นอย่างไร


ซึ่งคำตอบที่ท่านตอบนั้น : เป็นการปลดปล่อยทางอารมณ์ในการดูหนังโป๊ หรือสื่อต่างๆ

...โทรทัศน์ครู...


  • สิ่งที่ได้รับจากโทรทัศน์ครู ของ โรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิ
ในการทำกิจกรรมโยนบอล กิจกรรมลูกลิง โดยประกอบเพลง เมื่อเด็กรู้จังหวะและดนตรีค่อยนำเนื้อเพลงเข้ามาต้องเป็นเนื้อเพลงที่ง่าย เด็กจะเกิดทักษะการฟังที่ดี รู้จักการรอคอย มีจิตใจที่ดี มั่นใจในตนเองมากขึ้น การทรงตัวได้ด้วยตนเอง **ครูอย่าดูถูกเด็ก ว่าเด็กไม่สามารถทำได้**

ความรู้ที่ได้รับ
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะทางภาษา
- ร้องเพลง
- นิทาน
- สื่อ ต่างๆ
การวัดความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด
- การพูดตกหล่อ 
  เช่น ลูกโป่ง = โป่ง
         ลูกอม = อม
         กระเป๋า = เป๋า
- การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง คือ การพูดเสียงที่ขึ้นจมูก
- ติดอ่าง ซึ่งเด็กเล็กๆที่พูดติดอ่างนั้น น้องไม่ได้มีความผิดปกติแต่อย่างใด แต่เป็นพัฒนาการของเด็กในช่วงวัยนี้
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
   - ครูควรแก้ไขให้ถูกต้อง ไม่ต้องตอกย้ำเด็ก 
- ห้ามบอกเด็กว่า "พูดช้าๆ" "ตามสบาย" "คิดก่อนพูด"
   - สำคัญ โดยน้องที่มีสมาธิสั้นเวลาพูดลิ้นจะรัว ฟังไม่ค่อยอ่าน 
- อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
   - ครูควรปล่อยให้เด็กพูดให่จบก่อนแล้วค่อยเสริมทีหลัง 
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
   - ครูควรปล่อยให้เด็กใช้มือข้างที่ถนัดไป 
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
   - ครูไม่ควรทำเด็กขาดโดยเฉพาะห้องเรียนรวม 
-เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน 
   - การที่เด็กพูดเสียงขึ้นจมูก อู้อี้ บางครั้งเด็กหูไม่ได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
- ทักษะการรับรู้ทางภาษา
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
- การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ ( ชี้แนะหากจำเป็น )
- เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว ( ครูไม่พูดมากเกินไป )
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
- ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง ( ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า )
- เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์ ( Incidental Teaching )

ตัวอย่าง เด็กติดกระดุมเสื้อไม่ได้ เด็กต้องการความช่วยเหลือ ครูควรทำอย่างไร ดังรูป
- ครูเข้าไปใกล้ๆเด็กให้เด็กเป็นคนขอร้องครู **ครูอย่าคาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้าเอง**
- การบอกบทเด็ก โดยที่ครูต้องพูดซ้ำ ๆ ทวนบ่อย ๆ ให้เด็กได้รู้และอย่าไปคาดหวังว่าเด็กจะพูดได้ทันที
กิจกรรมบำบัดเด็ก ดนตรีและศิลปะบำบัด ( กิจกรรมหลังเรียน )
ให้นักศึกษาจับคู่กัน 2 คน โดยที่ทั้งสองจะต้องลากเส้นตรงทั้งคู่ คุณครูจะเปิดเพลงคลอเบาๆในขณะที่เด็กทำกิจกรรม


ผลงานของนักศึกษา 


งานชิ้นที่ 1 : ดูเรียบง่าย ไม่ค่อยมีความซับซ้อน เป็นคนไม่มีความลับ


งานชิ้นที่ 2 : มีลักษณะคล้ายเด็กออทิสติก มีความยุ่ง วุ่นวาย ในหัวคิดสิ่งต่างๆตลอด


งานชิ้นที่ 3 : มีมิติ มีอะไรที่หลากหลาย 


งานชิ้นที่ 4 : มีความยุ่ง วุ่นวาย เกิดความสับสนในหัวคิดอะไรตลอดเวลา ไม่มีความชัดเจน


งานชิ้นที่ 5 : เป็นคนร่าเริง สนุกสนาน เรียบร้อย


งานชิ้นที่ 6 : มีความชัดเจน กล้าแสดงออก สนุกสนาน


งานชิ้นที่ 7 : ดูง่ายๆ เรียบร้อย มีความชัดเจน ตรงไปตรงมา


งานชิ้นที่ 8 : มีความมั่นใจในตนเอง สนุกสนาน


งานชิ้นที่ 9 : เป็นคนที่ชัดเจน มั่นใจ ร่าเริง มีความซับซ้อน 


งานชิ้นที่ 10 : การที่ระบายสีเต็มแผ่นกระดาษ เป็นเด็กที่มั่นใจในตนเอง กล้าลงมือทำ


งานชิ้นที่ 11 : ดูเรียบง่าย สบายๆ 


งานชิ้นที่ 12 : มีความชัดเจน ดูเรียบๆ ร่าเริง


งานชิ้นที่ 13 : เป็นคนเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน อะไรก็ได้


งานชิ้นที่ 14 : มีความลึกลับ มั่นใจ

สิ่งที่เด็กได้รับจากกิจกรรม
- เพื่อฝึกสมาธิ
- มีมิติสัมพันธ์
การแสดงออกทางผลงานศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นลายเส้น สี รูปทรง สัญลักษณ์ อารมณ์ ความหมาย ที่สื่อออก
- ด้านภาษา
- ความคิดสร้างสรรค์ 
การนำไปประยุกต์ใช้

  1. ศิลปะเป็นเครื่องมือสำคัญ เพื่อช่วยเหลือบุคคลที่มีปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ
  2. ศิลปะบำบัด มีประโยชน์ในด้านการพัฒนาอารมณ์ สติปัญญา สมาธิ ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และการประสานงานการเคลื่อนไหวของร่างกาย
การประเมินการเรียนการสอน
  • ตนเอง 100% : วันนี้สนุกสนานมาก ไม่ค่อยเหนื่อย ช่วงทำกิจกรรมบำบัดรู้สึกตอนลากเส้นมาก แต่พอมาระบายสีตรงที่เป็นช่อง รู้สึกเซ็งมากเพราะช่องเยอะ แต่ก็ทำจนเสร็จเรียบร้อย วันนี้ร้องเพลงยังไม่ค่อยดี มีเพี้ยน เนื้อเพลงไม่ค่อยเร้าใจ เป็นจังหวะเนิบๆ ช้าๆ
  • เพื่อน 100 % : ทุกคนร่าเริง เตรียมพร้อมตั้งใจเรียน ทำและลงมือปฏิบัติกิจกรรมอย่างมุ่งมั่น เพื่อนสนุก เพื่อนร้องเพลงเพี้ยนบ้าง 
  • อาจารย์ 100% : มียกตัวอย่างเด็กพิเศษทุกครั้งเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจง่าย กับเนื้อหาการเรียน

วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 9
วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2558
เวลาเรียน 12.20 - 15.00 น.

กิจกรรมก่อนเรียน
อาจารย์ให้ทำแบบทดสอบจิตวิทยา 5 ข้อ โดยมีคำถามดังนี้ 
รถไฟเหาะแห่งชีวิต
 1. คุณเดินเข้าไปในประตูสวนสนุกและเห็นรถไฟเหาะอยู่ตรงหน้าของคุณ แต่มีคนต่อคิวเข้าแถวเพื่อที่จะรอเล่นรถไฟเหาะ คุณคิดว่าคุณต้องรอนานเท่าไหร่ถึงจะได้เล่น ?

2. ในที่สุดก็ถึงตาคุณแล้ว ขณะที่คุณกำลังนั่งอยู่บนรถไฟเหาะ ความเร็วที่หมุน ขึ้น-ลง มันทำให้คุณรู้สึกอย่างไร ?

                        

3. จุดที่ตื่นเต้นที่สุดของรถไฟเหาะตอนที่กำลังพุ่งดิ่งลงไปในสระน้ำ ทำให้คุณเปียกโชกไปด้วยน้ำที่กระเด็นเข้ามา ณ เวลานั้นคุณจะร้องหรือตะโกนออกมาว่าอย่างไร ?


 4. คุณตัดสินใจเล่นม้าหมุนต่อ แต่ขณะที่คุณกำลังนั่งม้าหมุนตัวนั้นกลับเกิดขัดข้องและหยุดหมุนกระทันหัน คุณจะพูดว่าอะไร ?


5. รถไฟเหาะที่คุณเล่นมานั้นไม่มีความตื่นเต้นเลย ถ้าคุณสามารถออกแบบรถไฟเหาะของคุณเอง คุณจะออกแบบเส้นทางรถไฟเหาะของคุณอย่างไร วาดรูปโดยละเอียด 

  • ในทางจิตวิทยาการเคลื่อนไหวขึ้น - ลง ที่เป็นจังหวะแสดงถึงความตื่นเต้นเร้าใจของอารมณ์ทางเพศ เพราะฉะนั้นคำตอบที่ออกมา 5 ข้อ หมายถึงความคิดของคุณในเรื่อง SEX
1. เวลาที่คุณใช้ในการรอรถไฟเหาะ คือระยะเวลาที่คุณใช้หรือระยะเวลาที่คุณอยากให้คู่ของคุณใช้ในการเล้าโลม
2. ความรู้สึกของคุณขณะนั่งรถไฟเหาะ บอกถึงความรู้สึกคุณขณะร่วมรัก
3. คำพูดของคุณขณะที่รถไฟเหาะพุ่งลงไปในน้ำ หมายถึงคำพูดของคุณที่ใช้พูดในขณะที่ถึงจุดสุดยอดในการร่วมรัก
4. ในทางจิตวิทยาม้าแสดงถึงความเป็นชายชาติชาตรี คำพูดที่คุณพูดกับม้าตัวที่ขัดข้องกระทันหันบอกถึงสิ่งที่คุณอาจพูดกับตัวเองหรือคู่ของคุณ ในสถานการณ์ที่คุณผู้ชายล้วเหลวในเวลาร่วมรัก
5. ภาพรถไฟเหาะที่คุณวาด แสดงถึงภาพ SEX ที่สมบูรณ์แบบในความคิดของคุณ



ความรู้ที่ได้รับ
การส่งเสรมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะทางสังคม
  • เด็กพิเศษขาดทักษะทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่
  • การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
  • สภาพแวดล้อมถ้าจัดดีขนาดไหน มีสีสันสวยงาม เด็กไม่เข้ายังไงก็ไม่เข้า

กิจกรรมการเล่น
  • การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
  • เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
  • ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
  • จะมองอะไรเป็นทางตรง ถ้าเพื่อนยืนขวางทางที่จะเดินก็จะชน หรือผลักเพื่อนออกจากเส้นทางของตนเอง

ยุทธศาสตร์การสอน
  •         เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
  •         ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ (เป็ตัวบอกได้ว่า เด็กเป็นอย่างไร มีพฤติกรรมที่ดีและพฤติกรรมที่ส่งเสริมอะไร)
  •         จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
  •         ครูจดบันทึก
  •         ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
  •         วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง คือ การให้ของเล่นทีละชึ้น ถ้าให้ทีเดียวหมด เด็กจะเบื่อเร็ว ไม่แบ่งกันเล่น
  •         คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
  •         ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
  •         เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ
  •         3*1 ในกลุ่ม ครูเป็นคนเลือก สามารถเปลี่ยนกลุ่มเด็กได้
  •         เพื่อนท่ดูแลเด็กพิเศษต้องเป็นเพื่อนที่สนิทสนมกัน

       - ให้เด็กเล่นทรายด้วยมือเปล่าก่อน แล้วค่อยแจกอุปกรณ์ทีละชิ้น เพื่อเป็นการยืดเวลาในการเล่น
       - เมื่อมีช้อนเป็นอุปกรณ์ในการเล่น ถ้ามี 4 คน จำนวนช้อนต้องน้อยกว่า 2 ถ้าให้คนละอันเด็กจะต่างคนต่างเล่น
ครูควรปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
•  อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
•  ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
•  ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
•  เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
•  ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
•  การหันหลังให้เด็ก ครูไม่ควรทำเด็ดขาด สิ่งที่เกิดขึ้น คือ เด็กจะคิดว่าเขาไม่อยู่ในสายตาของครู
•  เด็กพิเศษบางคนบ้ายอ อย่าชมเยอะ
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
•  ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
•  ทำโดย “การพูดนำของครู”

ตัวอย่างในรูป "เด็กไม่ได้รับความสนใจจากเพื่อน"
-  เอาของเล่นให้เด็กที่อยู่นอกกลุ่ม เพื่อนที่เล่นเป็นกลุ่มจะเบี่ยงเบนความสนใจมาหาน้องคนนั้น
-  ครูต้องพูดกับเด็กที่จับกลุ่มเล่นกัน โดยพูดเชื้อเชิญนำเด็กเข้าร่วมกลุ่ม
-  ครูสามารถจับมือน้องหรือช่วยพยุงมือน้องได้
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฏเกณฑ์
•  ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
•  การให้โอกาสเด็ก
•  เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
•  ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
สร้างกฏเกณฑ์
-  การทำข้อตกลงกับเด็กขณะทำกิจกรรม
-  ทำให้เป็นเกมในการทำกิจกรรม เช่น การเล่นทราย ใช้ช้อนตักทราย 10 ครั้ง แล้วเปลี่ยนให้เพื่อนเล่น
-  น้องดาว์นซินโดรม ครูต้องถามซ้ำเยอะๆทวนบ่อยๆ
-  น้องดาว์นซินโดรม ครูต้องคอยชี้นำ หรือบอกบทเด็กในกิจกรรมวาดรูป

กิจกรรมบำบัดเด็กพิเศษ (กิจกรรมท้ายคาบ)
1. ห้องเรียนต้องเงียบ ให้เด็กฟังเพลง

Happy Relaxing Guitar Music For Children
2. คนนึงเป็นคนวาดเส้น คนนึงเป็นคนจุด

3. พอวาดเสร็จให้เด็กต่อเติมเส้นที่วาดได้ แล้วตกแต่งเส้นที่เด็กว่าเป็นรูปร่างอะไร


4. ให้เด็กนำเสนอผลงาน









ประโยชน์ที่ได้จากกิจกรรมบำบัด
1. ฝึกทักษะ
2. ทักษะทางสังคม การคุยกับเพื่อน การปรึกษา 
3. ทักษะการสังเกต
4. ได้ปลดปล่อยอารมณ์
5. จินตนาการ
6. ดนตรีที่เปิดต้องไม่มีเสียงคนร้องเพลง เป็นเพลงช้า
มาร้องเพลงกันเถอะ !!!





การนำความรู้ไปใช้
       - หมั่นสังเกต ให้ความสนใจ และสนับสนุนสิ่งที่เด็กทำได้ดี พร้อมทั้งตระหนักอยู่เสมอว่า ความบกพร่องของเด็กไม่ได้กำหนดสิ่งที่เด็กเป็น
       - เข้าใจธรรมชาติของเด็กแต่ละคน เนื่องจากวิธีการที่ได้ผลในเด็กคนหนึ่งอาจไม่ได้ผลในเด็กอีกคนหนึ่ง ดังนั้น ครูจึงควรรู้จักปรับวิธีการสอนให้เหมาะสมกับความต้องการและวิธีการเรียนรู้ที่ต่างกันของเด็กแต่ละคน
การประเมินการเรียนการสอน
        ตนเเอง 93 % : เนื่องจากเมื่อเช้าเหนื่อยมากเพราะทำกิจกรรม เลยทำให้ช่วงบ่ายรู้สึกเหนื่อยและเพลียเป็นอย่างมาก ร่างกายกับสมองเลยไม่ค่อยจะตื่นตัว รู้สึกเบลอมากๆ
        เพื่อน 95 % : เพื่อนๆเพลีย บางครั้งคนก็ขอให้ปล่อยเร็ว เพื่อนขาดเยอะมาก เพื่อนๆก็ตั้งใจทำกิจกรรมจนสำเร็จ
        อาจารย์ 100 % : อาจารย์ตั้งใจสอน มีเทคนิค เคล็ดลับในการกระตุ้น หรือวิธีการสอนเด็กพิเศษ