วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 10
วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2558
เวลาเรียน 12.20 - 15.50 น.
กิจกรรมก่อนเรียน
ให้นักศึกษาดูรูปดังต่อไปนี้ ว่ากำลังไปเที่ยวทุ่งหญ้าสะวันนา (แบบทดสอบจิตวิทยาแสดงความเป็นตัวตน)
ขณะที่นั่งรถชมวิวอยู่นั้น อากาศทั้งร้อนและอบอ้าวมาก 

สายตาของท่านก็เหลือบไปเห็นฝูงสิงโตกำลังลุมกินยีราฟอยู่
ท่านจะรู้สึกและเป็นอย่างไร


ซึ่งคำตอบที่ท่านตอบนั้น : เป็นการปลดปล่อยทางอารมณ์ในการดูหนังโป๊ หรือสื่อต่างๆ

...โทรทัศน์ครู...


  • สิ่งที่ได้รับจากโทรทัศน์ครู ของ โรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิ
ในการทำกิจกรรมโยนบอล กิจกรรมลูกลิง โดยประกอบเพลง เมื่อเด็กรู้จังหวะและดนตรีค่อยนำเนื้อเพลงเข้ามาต้องเป็นเนื้อเพลงที่ง่าย เด็กจะเกิดทักษะการฟังที่ดี รู้จักการรอคอย มีจิตใจที่ดี มั่นใจในตนเองมากขึ้น การทรงตัวได้ด้วยตนเอง **ครูอย่าดูถูกเด็ก ว่าเด็กไม่สามารถทำได้**

ความรู้ที่ได้รับ
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะทางภาษา
- ร้องเพลง
- นิทาน
- สื่อ ต่างๆ
การวัดความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด
- การพูดตกหล่อ 
  เช่น ลูกโป่ง = โป่ง
         ลูกอม = อม
         กระเป๋า = เป๋า
- การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง คือ การพูดเสียงที่ขึ้นจมูก
- ติดอ่าง ซึ่งเด็กเล็กๆที่พูดติดอ่างนั้น น้องไม่ได้มีความผิดปกติแต่อย่างใด แต่เป็นพัฒนาการของเด็กในช่วงวัยนี้
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
   - ครูควรแก้ไขให้ถูกต้อง ไม่ต้องตอกย้ำเด็ก 
- ห้ามบอกเด็กว่า "พูดช้าๆ" "ตามสบาย" "คิดก่อนพูด"
   - สำคัญ โดยน้องที่มีสมาธิสั้นเวลาพูดลิ้นจะรัว ฟังไม่ค่อยอ่าน 
- อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
   - ครูควรปล่อยให้เด็กพูดให่จบก่อนแล้วค่อยเสริมทีหลัง 
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
   - ครูควรปล่อยให้เด็กใช้มือข้างที่ถนัดไป 
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
   - ครูไม่ควรทำเด็กขาดโดยเฉพาะห้องเรียนรวม 
-เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน 
   - การที่เด็กพูดเสียงขึ้นจมูก อู้อี้ บางครั้งเด็กหูไม่ได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
- ทักษะการรับรู้ทางภาษา
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
- การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ ( ชี้แนะหากจำเป็น )
- เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว ( ครูไม่พูดมากเกินไป )
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
- ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง ( ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า )
- เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์ ( Incidental Teaching )

ตัวอย่าง เด็กติดกระดุมเสื้อไม่ได้ เด็กต้องการความช่วยเหลือ ครูควรทำอย่างไร ดังรูป
- ครูเข้าไปใกล้ๆเด็กให้เด็กเป็นคนขอร้องครู **ครูอย่าคาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้าเอง**
- การบอกบทเด็ก โดยที่ครูต้องพูดซ้ำ ๆ ทวนบ่อย ๆ ให้เด็กได้รู้และอย่าไปคาดหวังว่าเด็กจะพูดได้ทันที
กิจกรรมบำบัดเด็ก ดนตรีและศิลปะบำบัด ( กิจกรรมหลังเรียน )
ให้นักศึกษาจับคู่กัน 2 คน โดยที่ทั้งสองจะต้องลากเส้นตรงทั้งคู่ คุณครูจะเปิดเพลงคลอเบาๆในขณะที่เด็กทำกิจกรรม


ผลงานของนักศึกษา 


งานชิ้นที่ 1 : ดูเรียบง่าย ไม่ค่อยมีความซับซ้อน เป็นคนไม่มีความลับ


งานชิ้นที่ 2 : มีลักษณะคล้ายเด็กออทิสติก มีความยุ่ง วุ่นวาย ในหัวคิดสิ่งต่างๆตลอด


งานชิ้นที่ 3 : มีมิติ มีอะไรที่หลากหลาย 


งานชิ้นที่ 4 : มีความยุ่ง วุ่นวาย เกิดความสับสนในหัวคิดอะไรตลอดเวลา ไม่มีความชัดเจน


งานชิ้นที่ 5 : เป็นคนร่าเริง สนุกสนาน เรียบร้อย


งานชิ้นที่ 6 : มีความชัดเจน กล้าแสดงออก สนุกสนาน


งานชิ้นที่ 7 : ดูง่ายๆ เรียบร้อย มีความชัดเจน ตรงไปตรงมา


งานชิ้นที่ 8 : มีความมั่นใจในตนเอง สนุกสนาน


งานชิ้นที่ 9 : เป็นคนที่ชัดเจน มั่นใจ ร่าเริง มีความซับซ้อน 


งานชิ้นที่ 10 : การที่ระบายสีเต็มแผ่นกระดาษ เป็นเด็กที่มั่นใจในตนเอง กล้าลงมือทำ


งานชิ้นที่ 11 : ดูเรียบง่าย สบายๆ 


งานชิ้นที่ 12 : มีความชัดเจน ดูเรียบๆ ร่าเริง


งานชิ้นที่ 13 : เป็นคนเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน อะไรก็ได้


งานชิ้นที่ 14 : มีความลึกลับ มั่นใจ

สิ่งที่เด็กได้รับจากกิจกรรม
- เพื่อฝึกสมาธิ
- มีมิติสัมพันธ์
การแสดงออกทางผลงานศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นลายเส้น สี รูปทรง สัญลักษณ์ อารมณ์ ความหมาย ที่สื่อออก
- ด้านภาษา
- ความคิดสร้างสรรค์ 
การนำไปประยุกต์ใช้

  1. ศิลปะเป็นเครื่องมือสำคัญ เพื่อช่วยเหลือบุคคลที่มีปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ
  2. ศิลปะบำบัด มีประโยชน์ในด้านการพัฒนาอารมณ์ สติปัญญา สมาธิ ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และการประสานงานการเคลื่อนไหวของร่างกาย
การประเมินการเรียนการสอน
  • ตนเอง 100% : วันนี้สนุกสนานมาก ไม่ค่อยเหนื่อย ช่วงทำกิจกรรมบำบัดรู้สึกตอนลากเส้นมาก แต่พอมาระบายสีตรงที่เป็นช่อง รู้สึกเซ็งมากเพราะช่องเยอะ แต่ก็ทำจนเสร็จเรียบร้อย วันนี้ร้องเพลงยังไม่ค่อยดี มีเพี้ยน เนื้อเพลงไม่ค่อยเร้าใจ เป็นจังหวะเนิบๆ ช้าๆ
  • เพื่อน 100 % : ทุกคนร่าเริง เตรียมพร้อมตั้งใจเรียน ทำและลงมือปฏิบัติกิจกรรมอย่างมุ่งมั่น เพื่อนสนุก เพื่อนร้องเพลงเพี้ยนบ้าง 
  • อาจารย์ 100% : มียกตัวอย่างเด็กพิเศษทุกครั้งเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจง่าย กับเนื้อหาการเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น