ครั้งที่ 11
วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2558
- เราเดินไปเจอไร่สตอเบอรี่สีแดงน่ากิน ในใจตอนนี้อยากกินแต่มีรั้วมากั้น คิดว่ารั้วสูงเท่าไร
- ตอนนี้เดินข้ามรั้วมาได้จะกินสตรอเบอรี่กี่ลูก
- ขณะที่เรากินสตรอเบอรี่อยู่นั้น เจ้าของไร่วิ่งมาและตะโกนว่า เราจะพูดกับเจ้าของไร่ว่าอย่างไร
- ขณะที่กำลังเดินออกจากฟาร์มรู้สึกอย่างไร
- คำถามที่ถามมานั้น คือ สตรอเบอรี่ หมายถึง ความยับยั่งชั่งใจ
- ความสูงของรั้วแสดงถึงความยับยั่งชั่งใจ
- เมื่อก้าวข้ามรั้วมา กินสตรอเบอรี่ไปกี่ลูก คือ ระหว่างที่คบกับแฟนมีกิ๊กกี่คน
- ถ้าแฟนจับได้จะตอบแฟนว่าอะไร
- ในเมื่อนอกใจไปแล้วรู้สึกอย่างไรกับการกระทำผิดในครังนี้
...มาร้องเพลงกันเถอะ...
เนื้อเพลงบำบัดสำหรับร้องวันนี้ |
ความรู้ที่ได้รับ
- การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระมากที่สุด คือ เด็กไม่จำเป็นต้องพึงพาใคร การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
- การสอนแบบตัวต่อตัว
- ให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเอง
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่
- ถ้าเด็กผูกเชือกรองเท้าได้เองครั้งแรก เขาก็จะผูกอยู่ซ้ำอย่างนั้น อย่างน้อย 7 - 10 ครั้งใน 1 วัน ครูผู้สอนควรให้กำลังใจเสริม เช่น เก่งมากค่ะ , ผูกได้สวยกว่าครั้งที่แล้ว เป็นต้น
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
- การได้ทำด้วยตนเอง
- เชื่อมั่นในตนเอง
- เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง) คือ ครูต้องใจแข็งให้เด็กได้หัด พยายามได้ช่วยเหลือตนเอง
- ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป คือ เมื่อเด็กต้องการความช่วยเหลืออะไร ให้ทำแค่อย่างนั้นพออย่าทำเกินเลยไป เช่น เด็กใส่ถุงเท้าไม่ได้ ครูก็ควรสอนการใส่ถุงเท้าให้ดู ห้ามทำเกินกว่านี้
- ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ เช่น การเข้าห้องน้ำ เด็กจะมาขอความช่วยเหลือโดยที่เด็กก็ทำได้ มักจะพูดว่า "หนูทำช้า" "หนูยังทำไม่ได้"
- เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร,หงุดหงิด,เบื่อ,ไม่ค่อยสบาย
- หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
- เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ ให้ความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
- มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2 - 3 ปี)
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3 - 4 ปี)
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4 - 5 ปี)
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5 - 6 ปี)
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
- แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
- เรียงลำดับตามขั้นตอน (อย่าข้ามขั้น)
การเข้าส้วม
- เข้าไปในห้องน้ำ
- ดึงกางเกงลงมา
- ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
- ปัสสาวะหรืออุจจาระ
- ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
- ทิ้งกระดาษชำระลงในตะกร้า
- กดชักโครกหรือตักน้ำราด
- ดึงกางเกงขึ้น
- ล้างมือ
- เช็ดมือ
- เดินออกจากห้องส้วม
การวางแผนทีละขั้น
- ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
- ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
- ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
- ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
- เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ
กิจกรรมหลังเรียน
- นำสีเทียนมาจุดตรงกลางของกระดาษ จะเล็กหรือใหญ่ก็ได้
- ให้เปลี่ยนสีเทียน ระบายเป็นวงกลม
- เมื่อระบายเสร็จก็ตัดออกออก
- เพื่อนๆตั้งใจทำอย่างสนุกสนาน
- เมื่อนำเสร็จแล้วให้นำภาพวงกลมของตนเองมาติดรูปของต้นไม้
- เส้นหนา : เป็นคนที่มั่นใจหนักแน่น
- ระบายสีดำ : เป็นคนที่สับสน วุ่นวาย
- เส้นบาง : เป็นคนที่ค่อยมีความมั่นใจ
สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมนี้
- เรื่องคณิตศาสตร์ เช่น การนับเลข
- มิติสัมพันธ์
- ความคิดสร้างสรรค์
- การฝึกสมาธิ
- แสดงออกทางจินตนาการ
- ผลงานที่เด็กทำบ่งบอกสภาวะทางอารมณ์ - จิตใจ
- ได้เห็นผลงานที่เพื่อนทำและผลงานของเราเองมาเป็นอย่างไร
- ฝึกกล้ามเนื้อมือ
- การร่วมมือในการทำผลงานศิลปะ
การนำไปประยุกต์ใช้
- ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพให้ดีขึ้นเพื่อ ลดปัญหาทางอารมณ์ พฤติกรรม และเสริมสร้างศักยภาพในด้านต่างๆ
- เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วย กระตุ้นการสื่อสาร และเสริมสร้างทักษะสังคมอีกด้วย
- ช่วยเสริมสร้างทักษะสังคม ช่วยให้เข้าใจอารมณ์ ความคิดของตนเอง และเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น มีทักษะการสร้างมนุษยสัมพันธ์
การประเมินการเรียนการสอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น