ครั้งที่ 9
วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2558
เวลาเรียน 12.20 - 15.00 น.
กิจกรรมก่อนเรียน
อาจารย์ให้ทำแบบทดสอบจิตวิทยา 5 ข้อ โดยมีคำถามดังนี้
รถไฟเหาะแห่งชีวิต |
2. ในที่สุดก็ถึงตาคุณแล้ว ขณะที่คุณกำลังนั่งอยู่บนรถไฟเหาะ ความเร็วที่หมุน ขึ้น-ลง มันทำให้คุณรู้สึกอย่างไร ?
3. จุดที่ตื่นเต้นที่สุดของรถไฟเหาะตอนที่กำลังพุ่งดิ่งลงไปในสระน้ำ ทำให้คุณเปียกโชกไปด้วยน้ำที่กระเด็นเข้ามา ณ เวลานั้นคุณจะร้องหรือตะโกนออกมาว่าอย่างไร ?
5. รถไฟเหาะที่คุณเล่นมานั้นไม่มีความตื่นเต้นเลย ถ้าคุณสามารถออกแบบรถไฟเหาะของคุณเอง คุณจะออกแบบเส้นทางรถไฟเหาะของคุณอย่างไร วาดรูปโดยละเอียด
- ในทางจิตวิทยาการเคลื่อนไหวขึ้น - ลง ที่เป็นจังหวะแสดงถึงความตื่นเต้นเร้าใจของอารมณ์ทางเพศ เพราะฉะนั้นคำตอบที่ออกมา 5 ข้อ หมายถึงความคิดของคุณในเรื่อง SEX
1. เวลาที่คุณใช้ในการรอรถไฟเหาะ คือระยะเวลาที่คุณใช้หรือระยะเวลาที่คุณอยากให้คู่ของคุณใช้ในการเล้าโลม
2. ความรู้สึกของคุณขณะนั่งรถไฟเหาะ บอกถึงความรู้สึกคุณขณะร่วมรัก
3. คำพูดของคุณขณะที่รถไฟเหาะพุ่งลงไปในน้ำ หมายถึงคำพูดของคุณที่ใช้พูดในขณะที่ถึงจุดสุดยอดในการร่วมรัก
4. ในทางจิตวิทยาม้าแสดงถึงความเป็นชายชาติชาตรี คำพูดที่คุณพูดกับม้าตัวที่ขัดข้องกระทันหันบอกถึงสิ่งที่คุณอาจพูดกับตัวเองหรือคู่ของคุณ ในสถานการณ์ที่คุณผู้ชายล้วเหลวในเวลาร่วมรัก
5. ภาพรถไฟเหาะที่คุณวาด แสดงถึงภาพ SEX ที่สมบูรณ์แบบในความคิดของคุณ
ความรู้ที่ได้รับ
การส่งเสรมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะทางสังคม
- เด็กพิเศษขาดทักษะทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่
- การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
- สภาพแวดล้อมถ้าจัดดีขนาดไหน มีสีสันสวยงาม เด็กไม่เข้ายังไงก็ไม่เข้า
กิจกรรมการเล่น
- การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
- เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
- ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
- จะมองอะไรเป็นทางตรง ถ้าเพื่อนยืนขวางทางที่จะเดินก็จะชน หรือผลักเพื่อนออกจากเส้นทางของตนเอง
ยุทธศาสตร์การสอน
- เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
- ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ (เป็ตัวบอกได้ว่า เด็กเป็นอย่างไร มีพฤติกรรมที่ดีและพฤติกรรมที่ส่งเสริมอะไร)
- จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
- ครูจดบันทึก
- ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
- วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง คือ การให้ของเล่นทีละชึ้น ถ้าให้ทีเดียวหมด เด็กจะเบื่อเร็ว ไม่แบ่งกันเล่น
- คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
- ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
- เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ
- 3*1 ในกลุ่ม ครูเป็นคนเลือก สามารถเปลี่ยนกลุ่มเด็กได้
- เพื่อนท่ดูแลเด็กพิเศษต้องเป็นเพื่อนที่สนิทสนมกัน
- ให้เด็กเล่นทรายด้วยมือเปล่าก่อน แล้วค่อยแจกอุปกรณ์ทีละชิ้น เพื่อเป็นการยืดเวลาในการเล่น
- เมื่อมีช้อนเป็นอุปกรณ์ในการเล่น ถ้ามี 4 คน จำนวนช้อนต้องน้อยกว่า 2 ถ้าให้คนละอันเด็กจะต่างคนต่างเล่น
ครูควรปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
• อยู่ใกล้ๆ
และเฝ้ามองอย่างสนใจ
• ยิ้มและพยักหน้าให้
ถ้าเด็กหันมาหาครู
• ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
• เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม
เพื่อยืดเวลาการเล่น
• ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
• การหันหลังให้เด็ก ครูไม่ควรทำเด็ดขาด สิ่งที่เกิดขึ้น คือ เด็กจะคิดว่าเขาไม่อยู่ในสายตาของครู
• เด็กพิเศษบางคนบ้ายอ อย่าชมเยอะ
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
• ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
• ทำโดย “การพูดนำของครู”
ตัวอย่างในรูป "เด็กไม่ได้รับความสนใจจากเพื่อน"
- เอาของเล่นให้เด็กที่อยู่นอกกลุ่ม เพื่อนที่เล่นเป็นกลุ่มจะเบี่ยงเบนความสนใจมาหาน้องคนนั้น
- ครูต้องพูดกับเด็กที่จับกลุ่มเล่นกัน โดยพูดเชื้อเชิญนำเด็กเข้าร่วมกลุ่ม
- ครูสามารถจับมือน้องหรือช่วยพยุงมือน้องได้
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฏเกณฑ์
• ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
• การให้โอกาสเด็ก
• เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
• ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
สร้างกฏเกณฑ์
- การทำข้อตกลงกับเด็กขณะทำกิจกรรม
- ทำให้เป็นเกมในการทำกิจกรรม เช่น การเล่นทราย ใช้ช้อนตักทราย 10 ครั้ง แล้วเปลี่ยนให้เพื่อนเล่น
- น้องดาว์นซินโดรม ครูต้องถามซ้ำเยอะๆทวนบ่อยๆ
- น้องดาว์นซินโดรม ครูต้องคอยชี้นำ หรือบอกบทเด็กในกิจกรรมวาดรูป
กิจกรรมบำบัดเด็กพิเศษ (กิจกรรมท้ายคาบ)
1. ห้องเรียนต้องเงียบ ให้เด็กฟังเพลง
Happy Relaxing Guitar Music For Children
2. คนนึงเป็นคนวาดเส้น คนนึงเป็นคนจุด
3. พอวาดเสร็จให้เด็กต่อเติมเส้นที่วาดได้ แล้วตกแต่งเส้นที่เด็กว่าเป็นรูปร่างอะไร
4. ให้เด็กนำเสนอผลงาน
ประโยชน์ที่ได้จากกิจกรรมบำบัด
1. ฝึกทักษะ
2. ทักษะทางสังคม การคุยกับเพื่อน การปรึกษา
3. ทักษะการสังเกต
4. ได้ปลดปล่อยอารมณ์
5. จินตนาการ
6. ดนตรีที่เปิดต้องไม่มีเสียงคนร้องเพลง เป็นเพลงช้า
มาร้องเพลงกันเถอะ !!!
การนำความรู้ไปใช้
- หมั่นสังเกต ให้ความสนใจ และสนับสนุนสิ่งที่เด็กทำได้ดี พร้อมทั้งตระหนักอยู่เสมอว่า ความบกพร่องของเด็กไม่ได้กำหนดสิ่งที่เด็กเป็น
- เข้าใจธรรมชาติของเด็กแต่ละคน เนื่องจากวิธีการที่ได้ผลในเด็กคนหนึ่งอาจไม่ได้ผลในเด็กอีกคนหนึ่ง ดังนั้น ครูจึงควรรู้จักปรับวิธีการสอนให้เหมาะสมกับความต้องการและวิธีการเรียนรู้ที่ต่างกันของเด็กแต่ละคน
การประเมินการเรียนการสอน
ตนเเอง 93 % : เนื่องจากเมื่อเช้าเหนื่อยมากเพราะทำกิจกรรม เลยทำให้ช่วงบ่ายรู้สึกเหนื่อยและเพลียเป็นอย่างมาก ร่างกายกับสมองเลยไม่ค่อยจะตื่นตัว รู้สึกเบลอมากๆ
เพื่อน 95 % : เพื่อนๆเพลีย บางครั้งคนก็ขอให้ปล่อยเร็ว เพื่อนขาดเยอะมาก เพื่อนๆก็ตั้งใจทำกิจกรรมจนสำเร็จ
อาจารย์ 100 % : อาจารย์ตั้งใจสอน มีเทคนิค เคล็ดลับในการกระตุ้น หรือวิธีการสอนเด็กพิเศษ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น